การเขียนรายงาน เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับการเรียนในระดับอุดมศึกษา
ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาในระดับนี้จะเน้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถแสวงหาความรู้ ฝึกฝนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ รวมทั้งสามารถนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ของตนเองได้
นักศึกษาจะเขียนรายงานทางวิชาการได้อย่างไร รายงานลักษณะใดที่จัดว่าเป็นรายงานที่ดี มีระเบียบวิธีการอะไรบ้างที่จะต้องเรียนรู้ก่อนทำรายงาน ซึ่งเรามาดูกันเลยว่าแนวทางในการเขียนรายงานเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
โดยมีหัวข้อ ดังนี้
รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้
1.รูปเล่ม ประกอบด้วยหน้าสำคัญต่าง ๆ ครบถ้วน การพิมพ์ประณีตสวยงาม การจัดย่อหน้าข้อความเป็นแนวตรงกัน ใช้ตัวอักษรรูปแบบ (Font) เดียวกันทั้งเล่ม จัดตำแหน่งข้อความและรูปภาพได้สอดคล้องสัมพันธ์
และอ่านง่าย
2.เนื้อหา เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่น่าสนใจของผู้เขียน แสดงถึงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบันทันสมัย ครอบคลุมเรื่องได้อย่างสมบูรณ์
แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งของผู้เขียน นอกจากแสดงความรู้ในข้อเท็จจริงแล้ว
ผู้เขียนควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์
นำเสนอความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ทรรศนะใหม่ ๆ
หรือแนวทางแก้ปัญหาในเรื่องที่กําลังศึกษาอยู่
ด้วยการเรียบเรียงเนื้อหาเป็นไปตามลำดับไม่ซ้ำซากวกวน แสดงให้เห็นความสามารถในการกลั่นกรอง สรุปความรู้และความคิดที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ
3.สำนวนภาษา เป็นภาษาที่นิยมโดยทั่วไป สละสลวย
ชัดเจน มีการเว้นวรรคตอน
สะกดการันต์ถูกต้อง
ลำดับความได้ต่อเนื่อง
และสัมพันธ์กันตลอดเรื่อง
4.การอ้างอิงและบรรณานุกรมถูกต้องตามแบบแผน
มีการแสดงหลักฐานที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน
เมื่อกล่าวถึงเรื่องใดก็มีหลักฐานอ้างอิงเพียงพอและสมเหตุสมผล เลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
ซึ่งการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรมจะบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของรายงานนั้น
v ข้อควรคำนึงในการทำรายงาน
วัตถุประสงค์ของอาจารย์ผู้สอนที่กำหนดให้นักศึกษาทำรายงาน
ก็เพื่อให้รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งการเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนสามารถติดตามความรู้ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิชาการ
1. ต้องไม่ใช่ผลงานที่คัดลอกของผู้อื่น (สำคัญมาก)
2. ต้องเป็นผลงานที่แสดงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องครบถ้วน (คือมีเนื้อหาสาระที่สามารถตอบคำถาม ใคร
ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ได้) และมีเนื้อหาสาระที่แสดงเหตุผล
แสดงความคิดหรือทรรศนะของผู้เขียน
ที่เป็นผลจากการได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเหล่านั้น (คือมีเนื้อหาที่ตอบคำถาม ทำไม- เพราะเหตุใด ทำอย่างไร)
3. ต้องเป็นผลงานที่จัดรูปเล่มอย่างประณีต อ่านทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย รายงานที่ดีจึงต้องจัดรูปเล่มให้อ่านง่าย เรียบเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับ กำหนดหัวข้อเรื่องไม่ซ้ำซ้อนวกวน
(ต้องวางโครงเรื่องให้ดี)
4. ต้องเป็นผลงานที่แสดงถึงจรรยาบรรณของนักวิชาการที่ดี
คือมีการอ้างอิงและทำบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามแบบแผน แสดงหลักฐานที่มาอย่างถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน
v ขั้นตอนการทำรายงาน
การทำรายงานให้ประสบความสำเร็จ ควรวางแผนดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.กำหนดเรื่อง
การกำหนดเรื่องที่จะทำรายงาน
ต้องเกิดจากความต้องการอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ควรเป็นเรื่องที่นักศึกษาสนใจ
หรือมีความรู้ในเรื่องนั้นอยู่บ้างแล้ว
ขอบเขตของเรื่องไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป
เพราะถ้ากว้างเกินไปจะทำให้เขียนได้อย่างผิวเผิน
หรือถ้าเรื่องแคบเกินไปอาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเขียนได้ ในการกำหนดเรื่องควรคิดโครงเรื่องไว้คร่าว
ๆ ว่าจะมีเนื้อหาในหัวข้อใดบ้าง
2.สำรวจแหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลเบื้องต้นควรเริ่มที่ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต
ในการสำรวจควรใช้เครื่องมือที่แหล่งนั้นจัดเตรียมไว้ให้
เช่นห้องสมุดควรใช้ บัตรรายการ บัตรดัชนีวารสาร และ โอแพค (OPAC) เป็นต้น การค้นทางอินเทอร์เน็ตควรใช้เว็บไซต์ Google,
Yahoo เป็นต้น นักศึกษาต้องเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือและคำสั่งในการสืบค้นให้เข้าใจดีเสียก่อน
จึงจะช่วยให้ค้นคว้าได้รวดเร็วและได้เนื้อหาสาระที่ครบถ้วน เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วจะต้องจัดเก็บรวบรวมให้เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่
เอกสารที่รวบรวมได้ทุกรายการต้องเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาไว้ด้วย เพื่อใช้ค้นคืนไปยังแหล่งเดิมได้อีกในภายหลัง
3.กำหนดโครงเรื่อง
การกำหนดโครงเรื่อง
เป็นการกำหนดขอบข่ายเนื้อหาของรายงานว่าจะให้มีหัวข้อเรื่องอะไรบ้าง
โครงเรื่องที่ดีจะต้องมีสาระสำคัญที่ตอบคำถาม 5W1H
ได้ครบถ้วน กล่าวคือ
เนื้อหาของรายงานควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้
เช่น ใครเกี่ยวข้อง (Who) เป็นเรื่องอะไร (What) เกิดขึ้นเมื่อไร (When) ที่ไหน (Where) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น--เพราะเหตุใด
(Why) เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
หรือมีวิธีทำอย่างไร (How) การคิดโครงเรื่องอาจใช้ผังความคิด (Mind map) ช่วยในการกำหนดประเด็นหัวข้อใหญ่หัวข้อรอง
ส่วนการจัดเรียงหัวข้อให้มีความสัมพันธ์เป็นลำดับต่อเนื่องที่ดี
อาจใช้ผังความคิดแบบก้างปลา (Fish bone diagram) หรือแบบต้นไม้
(Tree diagram)จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของแนวคิดได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อหัวข้อควรให้สั้นกระชับได้ใจความครอบคลุมเนื้อหาในตอนนั้นๆ
4.รวบรวมข้อมูลตามโครงเรื่อง
เมื่อกำหนดโครงเรื่องแน่ชัดดีแล้ว
จึงลงมือสืบค้นและรวบรวมข้อมูลตามบรรณานุกรมที่รวบรวมไว้ในขั้นตอนการสำรวจ การรวบรวมอาจจะถ่ายเอกสารจากห้องสมุด
หรือพิมพ์หน้าเอกสารที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต
เสร็จแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาแยกตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้
5. อ่านตีความ สังเคราะห์ข้อมูล และจดบันทึก
การอ่านให้เน้นอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อดึงเนื้อหาที่สอดคล้องกับประเด็น
แนวคิดต่างๆ ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้
ทำการบันทึกเนื้อหาลงในบัตรบันทึก
เสร็จแล้วนำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิด
เพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป
หรืออาจทำเครื่องหมายตรงใจความสำคัญ (ขีดเส้นใต้)แทนการทำบัตรบันทึก (กรณีเป็นหนังสือของห้องสมุดไม่ควรขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ
6.เรียบเรียงเนื้อหา
เนื้อหาสาระที่นำมาเรียบเรียงต้องเป็นเนื้อหาที่ได้จากการประเมิน
วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากขั้นตอนที่ 5 มาแล้ว (การวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ สามารถศึกษาและฝึกปฏิบัติได้ในรายวิชาสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า)
v ส่วนประกอบของรายงาน
1. ปกนอกและปกใน
ปกนอกใช้กระดาษอ่อนที่หนากว่าปกในซึ่งอาจเลือกสีได้ตามต้องการ ไม่ควรมีภาพประกอบใด ๆ ส่วนปกในและเนื้อเรื่องให้ใช้กระดาษขาวขนาด A4 ความหนาไม่ต่ำกว่า 80 แกรม ปกในพิมพ์ข้อความเช่นเดียวกับปกนอก ข้อความที่ปกนอกปกในประกอบด้วย ชื่อเรื่องของรายงาน ชื่อผู้เขียน
รหัสประจำตัว ชื่อวิชา ชื่อสถานศึกษา และช่วงเวลาที่ทำรายงาน
2. คำนำ กล่าวถึงความสำคัญ
วัตถุประสงค์ ความเป็นมา
ประเด็นหัวข้อเนื้อหาในรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากติดตามเรื่อง
ซึ่งอาจเป็นปัญหา ประโยชน์หรือผลกระทบอย่างไรต่อผู้อ่านและสังคม อาจกล่าวขอบคุณหรือบอกแหล่งที่มาของข้อมูล
เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ
สุดท้ายระบุชื่อ-สกุล ผู้เขียนรายงานและวันเดือนปีในการทำรายงาน
3. สารบัญ ระบุหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง (ถ้ามี)
และเลขหน้า ใช้จุดไข่ปลาลากโยงจากหัวข้อไปยังเลขหน้าให้ชัดเจน
การพิมพ์สารบัญต้องจัดย่อหน้าและเลขหน้าให้ตรงกัน
4.เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3
ส่วนคือ ส่วนนำเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป
- ส่วนนำเรื่องหรือบทนำ ต้องเขียนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากที่จะอ่านเนื้อหาต่อไป บทนำอาจกล่าวถึง ความสำคัญ บทบาท
ปัญหา ผลกระทบ วัตถุประสงค์
ขอบเขตเนื้อหา
หรือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ เป็นต้น
- ส่วนเนื้อเรื่องเป็นส่วนที่แสดงข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็น หรือผลสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าของผู้เขียน การนำเสนอเนื้อหาจะต้องมีหลักฐานอ้างอิง มีข้อมูลสถิติ
ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ ตามความจำเป็น
ซึ่งจะทำให้เนื้อเรื่องมีความน่าเชื่อถือและเข้าใจได้ง่าย
- ส่วนสรุป
เป็นส่วนชี้ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการบอกผู้อ่าน
ผู้เขียนอาจสรุปเนื้อหาตามลำดับหัวข้อใหญ่แต่ละหัวข้อทั้งหมดจนจบ โดยสรุปหัวข้อละ 1 ย่อหน้า หรือเลือกสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญสั้นๆ
ก็ได้ ที่สำคัญในการสรุปจะต้องไม่นำเสนอประเด็นเนื้อหาใหม่อีก
5. การอ้างอิง
การอ้างอิงจะแทรกเป็นวงเล็บไว้ในเนื้อเรื่อง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อมูล
เป็นการยื่นยันความถูกต้องและแสดงความน่าเชื่อถือของข้อมูล การอ้างอิงให้ระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์
และเลขหน้า
หรือที่เรียกว่าอ้างอิงแบบ นาม-
ปี
6.บรรณานุกรม หน้าบรรณานุกรมจะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง
โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือที่นำมาอ้างอิงไว้ในรายงานได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ ชื่อบทความ
ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ และสถานที่พิมพ์ เป็นต้น
มีหลักเกณฑ์และรายละเอียดดังนี้
1.ผู้แต่ง
1.1ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุลขึ้นต้น ตามด้นชื่อต้น และชื่อรอง เช่น ชื่อ Chelie
C Cooper ใช้ Cooper
Chelie C.
1.2ผู้แต่งที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้แต่งที่มีราชทินนาม
ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ให้ใส่ ราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์
นั้นไว้ข้างหลังชื่อ โดยหลังชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ส่วนคำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ อาชีพ หรือยศ
ให้ตัดออกไป ยกเว้น นามแฝง เช่น นายตำรา ณ เมืองใต้, ดร.วินแม็ก,
หลังชื่อผู้แต่งให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
2.ชื่อเรื่อง ให้ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกและขีดเส้นใต้เน้นชื่อนั้นด้วย
หากเป็นหนังสือหลายเล่มจบ ให้ระบุเล่มที่ใช้ หลังชื่อใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
3. เล่มที่อ้าง หนังสือเล่มเดียวจบ ไม่ต้องระบุจำนวนเล่ม แต่ถ้าหนังสือนั้นมีหลายเล่มให้ระบุเล่มที่ใช้ (เช่น
สารานุกรมไทย หรือ Black Law)
5. สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์
หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อเมืองตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนั้นๆ
หากไม่ปรากฏชื่อเมืองให้ใช้ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p) สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ คือ ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์
หลังครั้งที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายทวิภาค ( ; )
6.สำนักพิมพ์ ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน
ในกรณีที่มีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์
คำที่เป็นส่วนของสำนักพิมพ์ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด Incorporation, Inc. ให้ตัดออก
ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p.) แทนเพียงครั้งเดียว หลังสำนักพิมพ์ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)
7. ปีที่พิมพ์ ใส่เฉพาะตัวเลข
ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
ในเอกสารภาษาอังกฤษ
ถ้าหนังสือไม่ปรากฏทั้งสถานที่พิมพ์และปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ท., หรือ ม.ป.ป.) หรือ (n.p., n.d.) ในภาษาอังกฤษ
หลังปีที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
ตัวอย่างการลงรายการบรรณานุกรม
1. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม หนังสือเล่ม
ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ.
สถานที่พิมพ์.สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์.
วิทยากร เชียงกูล.
ฉันจึงมาหาความหมาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. หลายชีวิต. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2548.
2. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมที่มีผู้แต่ง 2 คน
ชื่อผู้แต่งทั้งสองคน. ชื่อหนังสือ.
สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
สมบัติ จำปาเงิน และ สำเนียง
มณีกาญจน์. หลักนักอ่าน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว, 2531.
3. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมหนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า
2 คน
ชื่อผู้แต่ง
และผู้แต่งคนอื่นๆ.ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
อธิษกานต์ ไกรภักดี และคนอื่นๆ.
การเมืองและการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี:
ปานเทวา
การพิมพ์, 2541.
4. ตัวอย่างการเขียนบรรณารุกรมหนังสือแปล
ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ.ชื่อผู้แปล.สถานที่พิมพ์:
สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
วิลเลี่ยม, สตีเวนสัน. นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ. ทรงแปลโดย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2539.
5.ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง, ชื่อวิทยานิพนธ์
หรือสารนิพนธ์. สาขา และสถาบันการศึกษา, ปีการศึกษา.
ศศิรินทร์ คำบำรุง, โครงสร้างในด้านข่าวและธุรกิจของศูนย์ข่าวภูมิภาค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
6.ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี).
สัมภาษณ์,วันที่สัมภาษณ์.
ทักษิณ ชินวัตร. นายกรัฐมนตรี.
สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2549.
7. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ [ประเภทของสื่อที่เข้าถึง] <เข้าถึงได้จาก>
(วันที่ค้นข้อมูล)
Pasguier, Roger F. Owl [Online].
(Feb. 8, 2006)
8. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสารหรือนิตยสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร. ปีที่, ฉบับที่. (เดือน ปี) : เลขที่หน้าอ้างอิง.
อัลยา นฤชานนท์. ได้อะไรบ้างจากการอ่านสารคดีการท่องเที่ยว. เที่ยวรอบโลก. 45, 4 (เมษายน 2540)
: 36-40.
9. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ, ชื่อบทความ,
ชื่อหนังสือพิมพ์ (วัน เดือน ปี): เลขหน้าที่อ้างอิง.
สมเจตน์ วัฒนาธร, กินบนเรือน
ขี้บนหลังคา, เดลินิวส์. ( 7
กรกฎาคม 2549): 14.
10. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในสารานุกรม
ชื่อผู้เขียนบทความ, ชื่อบทความ, ชื่อสารานุกรม
เล่มที่. (ปีที่พิมพ์) : เลขหน้าที่อ้างอิง.
ยกตัวอย่างการอ้างอิง
ตัวอย่างผู้แต่งคนเดียว
...การรวบรวมสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จึงจำเป็นและถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดมีระบบ
ระเบียบใหม่ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความยุติธรรมและความเป็นปึกแผ่นร่วมกัน
(หม่อมหลวงจ้อย
นันทิวัชรินทร์, 2529:39)
ตัวอย่างผู้แต่งสองคน
บทแนะนำหนังสือจำแนกตามลักษณะที่ปรากฏชัดได้
3 ประเภท คือ จำแนกตามเนื้อหา รูปแบบการเขียนและระยะเวลาที่ตีพิมพ์บทแนะนำหนังสือ
(สุพรรณี วราทร
และตรีศิลป์ บุญขจร, 2525: 18-22)
ตัวอย่างผู้แต่งสามคน
แหล่งโบราณคดีที่อยู่ถัดจากชายฝั่งเข้ามาจะเป็นเมืองที่มีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบ
เช่น เมืองเก่ายะรังบ้านโคกหญ้าคา บ้านสะนอ และบ้านเตมางาน
(สว่าง
เลิศฤทธิ์, เวลซ์
และมิกนีลส์, 2531: 33)
แหล่งที่มาของข้อมูล
การเขียนรายงานทางวิชาการ
การเขียนรายงานทางวิชาการ
เข้าถึงได้จาก http://www.dek-d.com/board/view/657681/
สืบค้นวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556