Post
Modern คือแนวความคิดที่มาหลังจากยุค
modern ซึ่งเป็นช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ที่อะไรต่างๆถูกกำหนดอยู่ในหลักเกณฑ์และทฤษฏี แต่ยุค postmodern เป็นยุคที่ปฏิเสธสิ่งเดิมๆในยุค modern โดยเน้นเสรีภาพและอิสระของบุคคล
ไม่เชื่อในโลกของความจริง ไม่เชื่อเรื่องความเป็นสากล
เพราะเชื่อว่าแต่ละคนแต่ละวัฒนธรรมนั้นมีเหตุผลของตัวเอง
ไม่ควรจะให้ใครมาตัดสินว่าอันไหนสิ่งใดดีที่สุด
แล้วคิดว่าสิ่งนั้นต้องดีสำหรับคนอื่นด้วย
ดังนั้นจึงไม่คิดว่าสังคมที่คิดว่าเป็นสากลนั้นไม่มีจริง
หลักการโดยทั่วไปของ Post Modern
หลักการโดยทั่วไปของ
Post Modern คือการสร้างรูปแบบงานออกแบบใหม่ที่ไม่ใช่ทั้ง
Modern และ รูปแบบ Classic แต่กลับเป็นการสร้างลูกผสมระหว่างทั้งสองรูปแบบขึ้นมาดังจะเห็นได้จากผลงานส่วนใหญ่ของรูปแบบนี้จะมีการสร้างชิ้นงานแบบ Modern ที่เรียบง่าย และมีรูปทรงที่โดดเด่น เตะตา แต่ในขณะเดียวกัน
ก็มีการอ้างอิงถึงรายละเอียด หรือกลิ่นอายของงาน Classic ไปด้วยในตัว
ในบางครั้งงาน Post Modern ก็จะไปเน้นที่การเล่นเรื่อง Space กล่าวคือ Space
ของงาน Classic มักจะเน้นที่ ความหรูหรา
ใหญ่โตและอลังการ ในขณะที่รูปแบบ Modern จะเน้นที่ความเรียบง่าย
และการสร้างความรู้สึกที่สัมผัสได้ ในทันทีที่เข้าไปพบ หรือสัมผัสแต่รูปแบบ Post
Modern มักจะเน้นที่ การสร้างความรู้สึกคล้ายใช่ และ คล้ายไม่ใช่
โดยมักจะสร้าง Space ที่ให้ความรู้สึกที่เปลี่ยนไป ในแต่ละก้าวย่างที่เข้าไปสัมผัส
ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และการตั้งคำถามที่มีต่อโลกแบบโมเดิร์นของตะวันตก
ซึ่งมองว่าการสร้างสังคมสมัยใหม่ของโลกตะวันตกที่ได้กำเนินมานั้นไม่ได้พัฒนาความสุข การหลุดพ้นหรือชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกันเป็นเพียงการสร้างวาทกรรมผ่านภาษา เพียงเพื่อครอบงำสังคมอื่นเพื่อชิงความได้เปรียบในหลายปัจจัย
รูปแบบ Post Modern
รูปแบบ
Post Modern ก็มักจะมีการใช้สีสรรที่สดใส
หรือวัสดุที่แปลกใหม่ ตลอดจนรูปทรงที่แปลกตา เข้ามาใช้ในงานด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะอาคาร สถาปัตยกรรม ทำให้เรามักจะได้เห็น อาคารรูปทรงแปลกประหลาด หรือมีสีสรร
สดใสตัดกับอาคารสี่เหลี่ยมทึบตันรอบข้าง โผล่มาอย่าง น่าประทับใจ ความแปลกใหม่และลูกเล่นที่สร้างสรรค์ต่างๆ
เหล่านี้ ได้สร้างให้งาน Post Modern ขึ้นสู่จุดสูงสุดอย่างรวดเร็วและด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร
ที่ทันสมัย ยิ่งทำให้งานออกแบบนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก Post Modern กลายเป็นรูปแบบใหม่ ที่นักออกแบบทั่วโลกให้ความสนใจ
และยินดีที่จะสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนี้ ภายหลังจากที่
ต้องเก็บกดอยู่นานกับความเรียบง่าย วัสดุที่จำกัด และรูปทรงเรขาคณิต ของงาน Modern แก่นสารอีกแล้ว ไม่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวอีกแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความแน่นอน
แม้ในความเป็น
postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ -modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่น Modernism
โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์
(เช่นความคิดในงานประพันธ์เรื่อง The Wasteland ของ Woolf's
To the Lighthouse) โดยเสนอว่า
ความเปราะบางนั้นเป็นบางสิ่งที่เลวร้าย
บางสิ่งที่เป็นความโทมนัสและเศร้าโศรกในความสูญเสีย งานของนักทันสมัย
พยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว
และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่
ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นความเปราะบางของโทมนัส สร้างทดแทน หรือไม่เกาะยึดไว้
แต่ค่อนไปทางเฉลิมฉลอง กระทำดังเช่นราวกับว่าโลกไร้ความหมาย? ไม่แสร้งทำให้ดูเหมือนว่าศิลปะสามารถให้ความหมายได้
กลับปล่อยให้เป็นเรื่องเล่นๆที่ไร้สาระ
จุดเด่นของแนวคิดหลังสมัยใหม่
Lyotard (เลียวทาร์) เห็นว่า ลักษณะเด่นของแนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม คือ
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับความชอบธรรมของความรู้ในยุคหลัง-อุตสาหกรรม
เงื่อนไขของความเป็นหลัง-สมัยใหม่ คือ การล่มสลายของเรื่องเล่าขนาดใหญ่หรืออภิมหาเรื่องเล่านั่นเอง แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม จะช่วยให้เรามองเห็น “ความแตกต่าง”
ท่ามกลางภาพกว้างของกระแสหลัก
ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราเห็นความแตกต่างละทิ้งความซ้ำซากแล้วหลังสมัยใหม่นิยม
มีพลังสูงพอสมควรในการเขย่ารากฐานและระบบความคิดที่แข็งทื่อ อย่างเช่นปรัชญา
วัตถุนิยม
จนเกิดการพังทลายและมีความว่างเกิดขึ้นนำไปสู่การสังเคราะห์ใหม่ระหว่างสสาร/ความคิดและที่สำคัญคือ
หลังสมัยใหม่สอนให้เรารู้จักคิดแบบองค์รวม[35]
ซึ่งทำให้การศึกษาทางสังคมศาสตร์มีความถ่อมตัวมากขึ้น ในการอ้างถึงความรู้ที่ศึกษาวิจัยมา
อย่างน้อยก็ลดระดับการอธิบายการอ้างถึงความสมบูรณ์ของความรู้ครอบคลุมไปหมด (Overgeneralization)
จุดเด่นของหลังสมัยใหม่ที่กล่าวมาย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่า
หลังสมัยใหม่เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาและการท้าทายที่ทำให้การอ้างถึงความรู้ที่มีอยู่ในการศึกษาทางสังคมศาสตร์ไม่เป็นแบบเกินเลยและถ่อมตัว/ถ่อมตนมากขึ้น
โดยถือว่าความรู้ทุกอย่างล้วนเป็นวาทกรรมทั้งสิ้น
จุดด้อยของแนวคิดหลังสมัยใหม่
อย่างไรก็ตามแม้ว่า
หลังสมัยใหม่ไม่ได้เสนออะไรที่เด่นชัดมากนัก เพราะตัวหลังสมัยใหม่เองเป็นเพียง
"กระแสความคิด" มากกว่าจะเป็น "สำนักคิด" ที่มีระเบียบวิธี, ปรัชญา และเป้าหมายในการศึกษาที่ชัดเจนตายตัว
แต่อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าหลังสมัยใหม่จะไม่มีอะไรเลย
และไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารอยู่ข้างใน
ตัวอย่างอาคารที่สร้างขึ้นด้วยปรัชญาแนวคิด Post Modern
สรุป
สรุปได้ว่า
สิ่งต่างๆ ที่ "แนวคิดเกี่ยวกับหลังสมัยใหม่"
ได้พูดถึงไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจครอบงำทางความคิด
ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีวิทยาแบบใดแบบหนี่งเพียงแบบเดียว นั้นคือ
ให้ความสำคัญกับความหลากหลาย และเป็นการท้าทายความรู้
ความจริงในวิธีการหาความรู้แบบปฏิฐานนิยม วิทยาศาสตร์ และเหตุผลนิยมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม
แนวคิดหลักของหลังสมัยใหม่เป็นเรื่องการต่อต้านและการปฏิเสธระบบหรือสิ่งต่างๆทิ่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในสังคม อันเป็นผลผลิตของยุคสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันหรือเรื่องของระบบเปิด
ซึ่งลักษณะที่สำคัญดังกล่าว เป็นเพียงวาทกรรมชุดหนึ่งเท่านั้นในการอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมตามแนวคิดหลังสมัยใหม่
แต่ผู้เขียนเชื่อว่ายังมีวาทกรรมอีกชุดหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังของวาทกรรมดังกล่าวอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า ในการอธิบายเรื่องความรู้(Knowledge)อัตลักษณ์(Identity)และความจริง(Reality)ทุกสิ่งทุกอย่างตามแนวคิดหลังสมัยใหม่ล้วนแล้วแต่เป็นวาทกรรมทั้งสิ้น
และที่สำคัญ คือ หลังสมัยใหม่ทำให้เรารู้จักคิดแบบองค์รวม/หลากหลายมากขึ้น
โดยเราต้องใช้วิธีวิพากษ์(Critical Method) และอาศัยระบบความคิดและวิธีการวิเคราะห์
(Method of Analysis) ที่หลากหลายมากขึ้นเช่นเดียวกัน
แหล่งข้อมูล
Kanyarat punpain. ยุคสมัยในปัจจุบัน.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น