สมัยยังมีพระเจ้าซาร์ปกครองประเทศรัสเซียได้ขยายอำนาจโดยการส่งกองทัพไปตีชิงดินแดนต่างๆ หรือใช้กุศโลบายอื่นๆในการผนวกอาณาจักรอื่นมาเป็นของตัวเอง
จนกลายเป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณใหญ่โตที่สุดในโลกไปในที่สุด หลังการปฏิวัติโดยเลนินในปี
1917 จะด้วยเหตุผลใดก็ตามท่านเลนินมีดำริที่จะให้อำนาจการปกครองตนเองกับดินแดนที่รัสเซียเคยไปตีชิงมาเหล่านี้ และท้ายที่สุดแล้วก็มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหภาพโซเวียต และภายในสหภาพโซเวียตก็ให้อดีตประเทศราชของรัสเซียรวม
14 แห่ง มีอำนาจปกครองตนเอง มีการกำหนดในรัฐธรรมนูญลงไปเลยว่า 14 สาธารณรัฐ หรือ 14 ประเทศเหล่านี้สามารถถอนตัวออกจากรัสเซียได้โดยง่ายประเทศเหล่านี้มีอาณาเขตที่ชัดเจน มีประธานาธิบดี
มีรัฐบาล มีภาษาท้องถิ่น มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นของตนเองแต่ที่ไม่มีเป็นของตนเองก็อย่างเช่นระบบเงินตรา กองทัพ และนโยบายต่างประเทศ
ที่ต้องใช้ร่วมกันกับของสหภาพโซเวียต ในบรรดา14
ประเทศที่ถอนตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต มีอยู่ประเทศหนึ่งที่ในทางประวัติศาสตร์มีความผิดแผกแตกต่างจากประเทศอื่นๆอย่างมากประเทศนั้นก็คือคาซัคสถาน
เมื่อเทียบกับอีก 13 ประเทศอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตก็คือ
ก่อนที่จะได้รับอำนาจการปกครองตนเองจากผู้นำสหภาพโซเวียต ประเทศนี้ไม่เคยมีสถานะเป็นประเทศมาก่อน
ดินแดนแถบนี้อยู่กับรัสเซียมาตั้งแต่โบราณแล้ว
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
รัสเซียที่ปกครองดินแดนแถบนี้อยู่ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมาย
ก็เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาอย่างเป็นจริงเป็นจัง
และสามารถควบคุมปกครองดินแดนแถบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ
เนื่องจากวิตกเรื่องการขยายอิทธิพลเข้ามาของฝ่ายอังกฤษ
คาซัคสถาน
มีสถานะเป็นสาธารณรัฐรวมอยู่ในสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี 1936 และเป็นประเทศเอกราช
ปี 1990 ดินแดนที่เป็นคาซัคสถานในปัจุบัน
มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินตั้งแต่ยุคหินกันแล้ว
ซึ่งจากสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง อาชีพหลักของคนในยุคโบราณก็คือการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
โดยน่าจะเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงม้า ปัจจุบันคาซัคสถานเป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณใหญ่เป็นอันดับ
9 ของโลก ถือเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ที่ตั้ง อยู่ในเขตเอเชียกลาง ทางตอนกลางของที่ราบยูเรเซีย
ระหว่างรัสเซียและอุซเบกิซสถาน โดยทิศตะวันออกติดจีน ทิศตะวันตกติดทะเลสาบแคสเปียน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดสาธารณรัฐคีร์กีซ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดเติร์กเมนิสถาน
พื้นที่ 2,717,300 ตารางกิโลเมตร
(ประมาณ 5 เท่าของไทย และมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ถือได้ว่ามีขนาดประมาณยุโรปตะวันตก)
เมืองหลวง กรุงอัสตานา (Astana)
ประชากรประมาณ 16.5 ล้านคน
ภูมิอากาศ ทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีปฤดูหนาว
หนาวจัด (ประมาณ -18 ถึง -30 องศาเซลเซียส) ฤดูร้อน ร้อนจัดและแห้ง (ประมาณ 20 – 35 อาศาเซลเซียส)
ภาษา คาซัค เป็นภาษาราชการ (State Language) ที่มีคนใช้กว่าร้อยละ 64.4 ส่วนภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ
(Official) ที่มีคนใช้กว่าร้อยละ 95
ศาสนา อิสลามนิกายสุหนี่ร้อยละ 47 คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ร้อยละ 44 โปรแตสแตนท์ ร้อยละ
2 อื่นๆ ร้อยละ 7
ประธานาธิบดี
นาย Nursultan Nazarbayev (นูร์ซุลตาน
นาซาบาเยฟ)
นายกรัฐมนตรี นาย Karim A. Massimov
คาซัคสถานมีระบบการเมืองแบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
และเป็นผู้บัญชาการทหาร ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล
โดยมีรองนายกรัฐมนตรี 3 คน และรัฐมนตรี 16 คน ระบบการเมืองของคาซัคสถานนั้น
แม้ว่าจะเป็นระบบหลายพรรค และเปิดกว้างตามระบอบประชาธิปไตย
แต่พรรคการเมืองทั้งหลายไม่ได้มีบทบาทสำคัญมากนัก อำนาจในการปกครองที่แท้จริงอยู่ภายใต้ประธานาธิบดี
Nursultan Nazarbayev อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งคาซัคสถานตั้งแต่สมัยโซเวียต
ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของคาซัคสถานตั้งแต่ปี 2534
รัฐบาลคาซัคสถานให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
และปฏิรูปในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตย
การเพิ่มบทบาทของรัฐสภา และองค์กรการปกครองท้องถิ่น โดยประธานาธิบดีได้กล่าวย้ำว่า
วิธีการเสริมสร้างประชาธิปไตยในคาซัคสถานจะไม่ลอกเลียนแบบจากต่างประเทศ
แต่จะเป็นวิธีการที่สะท้อนความต้องการและประโยชน์ของชาวคาซัคสถานอย่างแท้จริง
ซึ่งเรื่องที่จะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือการเพิ่มอำนาจของรัฐสภาที่สามารถแต่งตั้งสภารัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการตรวจสอบภายใน อันดับที่สอง คือ การเพิ่มบทบาทของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองจะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล และสุดท้าย
คือการเพิ่มจำนวนผู้แทนในสภาล่าง นอกจากนั้นรัฐบาลจะยังทบทวนระบบยุติธรรมเพื่อให้มีความเป็นธรรมและโปร่งใสมากขึ้น
ในแต่ละปีนั้นประธานาธิบดีคาซัคสถานจะมอบนโยบายแก่ประชาชน โดยในปี 2552 นโยบายหลักที่นาย Nazarbayev มอบไว้มุ่งเน้นการจัดการวิกฤติทางเศรษฐกิจ
โดยสัญญาว่าจะนำประเทศผ่านวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่างอย่างมีศักดิ์ศรีและประสบความสำเร็จในฐานะประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง
นโยบายการเมืองและความมั่นคงภายในประเทศ
คาซัคสถานยังรักษาเสถียรภาพภายในประเทศได้ดีได้ดี
แม้ว่าในอดีตจะมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ เหตุการณ์สำคัญ อาทิ
เหตุการณ์ Zelinnograd ในปี ค.ศ.1979
เป็นเหตุการณ์ที่วัยรุ่นชาวคาซัคออกมาแสดงการต่อต้านการแก้ปัญหาของรัฐที่จะก่อตั้งเขตการปกครองจนเองให้แก่ชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของคาซัคสถาน หรือ เหตุการณ์ Jeltoqsan ในเมือง อัลมา
อาตา ความขัดแย้งและการต่อต้านชาวคาฟคาซ ณ เมืองโนวึย อูเชเนีย
หรือการปะทะกันระหว่างชาวคาซัคและเชชเนีย ณเมืองอูซท์ – คาเมนาโกรซกาหรือ ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ (เทนกีซ) ปี ค.ศ.2006
เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวเติร์กและคาซัค ณ แหล่งน้ำมันเทนกีซ หรือ ความขัดแย้ง Kazakh – Uyghur ปี ค.ศ. 2006 ณ
เขตอัลมาติน หรือ ความขัดแย้งระหว่างชาวคาซัคกับเชชเนีย เดือน มีนาคม ปี ค.ศ.2007
ณ เขตอัลมาตินจากปัจจัยโครงสร้างสังคมและการเมืองภายในดังกล่าว จึงเป็นผลให้รัฐบาลคาซัคสถานมีนโยบายต่อต้านการแบ่งแยกเชื้อชาติ การใช้ความรุนแรงและการแบ่งแยกดินแดน
นโยบายต่างประเทศ

เศรษฐกิจการค้า
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมด้านพลังงานเป็นหลัก
โดยรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีมูลค่ากว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด
ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ
โครเมียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ เงิน และยูเรเนียม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ รัสเซีย จีน เยอรมนี ยูเครน
ตลาดส่งออกที่สำคัญ จีน เยอรมัน รัสเซีย อิตาลี
ฝรั่งเศส โรมาเนีย ยูเครน ตุรกี
สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร โลหะ
เครื่องบริโภค
สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมัน เหล็ก เคมี
เครื่องจักร ธัญพืช ขนแกะ
นโยบายเศรษฐกิจการเมือง
ภายหลังแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตคาซัคสถานได้พยายามปฏิรูปเศรษฐกิจมาโดยตลอด โดยการเรียนรู้จากความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกและให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถรองรับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของตะวันตก จนกระทั่งได้รับการรับรองสถานะเศรษฐกิจแบบตลาดจากสหรัฐฯ ในปี 2545 และเป็นประเทศแรกที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียตที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนจากสถาบันระหว่างประเทศทั้ง
Moody และ Standard &
Poor’s (S&P)
คาซัคสถานนับว่าประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจ
นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกว่าร้อยละ 9 ทุกปี
และสามารถชำระหนี้คืน IMF ได้ล่วงหน้าถึง
7 ปี อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจคาซัคสถานยังพึ่งพาอุตสาหกรรมด้านพลังงานเป็นหลัก
โดยรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีมูลค่ากว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด
นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ คาซัคสถานยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ อาทิ โครเมียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ เงิน และยูเรเนียม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคาซัคสถาน
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด
ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย
– คาซัคสถานนับได้ว่ามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน
รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือด้าน ต่าง ๆ
ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและบริการ และวิชาการ
เป็นต้น ไทยได้แต่งตั้งนาย Mirgali Kunayev
เป็น กสม. ณ
นคร อัลมาตี และมีอำนาจตรวจลงตรา
ซึ่งนักท่องเที่ยวคาซัคสถานสามารถขอรับการตรวจลงตราเพื่อพำนักในไทยได้เกิน 15 วัน
ผู้นำไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น
คาซัคสถานได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการปฎิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย
(Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia
- CICA) ซึ่งเป็นกรอบการประชุมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียที่คาซัคสถานได้ริเริ่มขึ้น
โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ CICA เมื่อเดือนตุลาคม
2547
ฝ่ายคาซัคสถานประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ASEAN Regional Forum - ARF) และขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย
ไทยได้สนับสนุนคาซัคสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) และเป็นเอกฉันท์ในการรับคาซัคสถานเข้าเป็นสมาชิก
ACD
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-คาซัคสถาน
การค้า
ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานในทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คาซัคสถานเป็น
คู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในกลุ่มเครือรัฐเอกราช (CIS)
และมีศักยภาพมาก
เนื่องจากมีจำนวนประชากร 15.4 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากรัสเซีย
ยูเครนและอุซเบกิสถาน อย่างไรก็ตาม
มูลค่าการค้าระหว่างไทยและคาซัคสถานยังมีไม่มากนัก เนื่องจากสินค้ามีการกระจายตัว
และเพิ่งจะเริ่มมีการค้าระหว่างกันอย่างจริงจังเมื่อปี 2538
การลงทุน
ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนของคาซัคสถานในประเทศไทย
อนึ่ง สาขาของอุตสาหกรรมที่คาซัคสถานน่าจะมาลงทุนในไทยได้ คือ
การประกอบเครื่องจักรเกษตรกรรม อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมเหล็ก
ในขณะที่ไทยมีศักยภาพที่จะลงทุนในภาคการท่องเที่ยวและบริการ อุตสาหกรรมรถยนต์
เป็นต้น
สาขาของอุตสาหกรรมที่ไทยอาจพิจารณาไปลงทุนในคาซัคสถานได้ คือ การผลิต
เครื่องนุ่งห่ม อาหารแปรรูปกระป๋อง
เครื่องหนังซึ่งคาซัคสถานมีการส่งออกหนังดิบจำนวนมาก
รวมทั้งการผลิตเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
เครื่องประดับและอัญมณี ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไปร่วมลงทุนด้านก่อสร้างกับบริษัทต่างชาติในประเทศคาซัคสถานในลักษณะรับช่วงงานในโครงการก่อสร้างต่างๆ
และส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานด้านทักษะฝีมือในคาซัคสถาน ทั้งนี้ปัจจุบันมีแรงงานไทยในคาซัคสถานจำนวน 400 คน
เข้าไปทำงานอยู่ที่เมือง Atyrau เป็นช่างเชื่อมโลหะที่ฐานขุดเจาะน้ำมัน
แหล่งน้ำมันในคาซัคสถานเป็นแหล่งน้ำมันในสหภาพโซเวียตเดิมที่ใหญ่เป็นอันดับ
2 รองจากภาคพื้น ไซบีเรีย (อูเรนบูร์ก) ของรัสเซีย
และมีปริมาณการขุดเจาะในเชิงพาณิชย์ เป็นอันดับ 3 รองจากแหล่งน้ำมันที่เมืองอูเรนบูร์ก และบากู (ในอาเซอร์ไบจาน)
การท่องเที่ยว
คาซัคสถานมีสิ่งดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ
ความงดงามของธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของชาวมุสลิม
คาซัคสถานจึงอาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของชาวไทยในอนาคต ในขณะเดียวกัน
เมื่อคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติของคาซัคสถาน
ประกอบกับความตั้งใจของผู้นำประเทศที่จะสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแล้ว
คาซัคสถานมีศักยภาพที่จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชียกลางได้และชาวคาซัคซึ่งมีกำลังซื้อสูงขึ้นอาจเดินทางออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศเพิ่มขึ้น
รวมทั้งการเดินทางมายังประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ชาวคาซัคนิยมกีฬามวยไทยมาก
โดยมีการจัดตั้งสมาคมมวยไทยแห่งคาซัคสถานโดยมีนายกรัฐมนตรีคาซัคสถานเป็นประธานสมาคม
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับกรุงอัสตานา
โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น (นายสมัคร สุนทรเวช)
ได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการสถาปนาดังกล่าว
ในโอกาสที่ไปเยือนคาซัคสถานเมื่อเดือนมิถุนายน 2547
นอกจากนี้
คาซัคสถานยังแสดงความประสงค์ที่จะสถาปนาความเป็นบ้านพี่เมืองน้องระหว่างเมืองพัทยาและเมืองชิมเคนต์
(Shymkent) ด้วย
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-
คาซัคสถาน (Agreement on Establishment of Joint
Commission for Bilateral Cooperation between the Kingdom of Thailand and the
Republic of Kazakhstan) ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2536)
2. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศไทย-คาซัคสถาน
(Agreement on Air Services and Transport) ลงนามเมื่อวันที่
3 พฤษภาคม 2539
3. ความตกลงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าและอุตสาหกรรมคาซัคสถาน
(Agreement on Cooperation between Board of Trade of Thailand and
Union of Chambers of Commerce & Industry of the Republic of Kazakhstan) ลงนามเมื่อวันที่
29 สิงหาคม 2546
4. พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-คาซัคสถาน
(Protocol on Cooperation between the Ministry Of Foreign Affairs of
The Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of The Republic of
Kazakhstan) ลงนามวันที่ 20 ตุลาคม 2547
อาร์บัท (Arbat)
ถนนคนเดิน แหล่งรวมสินค้าราคาถูก
หลากหลายชนิด ทั้งยัง หาซื้อภาพวาด งานศิลปะได้ตามริมถนนนี้ด้วย
นอกจากร้านรวงที่ถนนนี้แล้ว ตรงข้ามกันกับถนนนี้
ยังมีห้างสรรพสินค้าทันสมัยใหญ่โตชื่อ TSUM ให้เลือกซื้อของอีกมากมาย
หุบเหว ชาริน (Charyn Canyon)
ซึ่งเป็นหุบเหวที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
พิศวงไปกับความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้บรรจงรังสรรค์ไว้
ด้วยรูปทรงของโตรกผาที่แปลกตา และลดหลั่นเป็นชั้นๆอาจทำให้เราจินตนาการ
ถึงปราสาทในเทพนิยายเลยก็เป็นได้ ซึ่งอีกชื่อหนึ่งของ หุบเหวนี้ก็คือ หุบเขาแห่งปราสาท
(Valley of Castles) ทั้งยังถูกขนาน นามว่าเป็น แบบจำลอง Grand Canyon
ทะเลสาบใหญ่อัลมาตี้ (Almaty Big Lake)
ซึ่งสวยงามตระการตาเป็นสถานที่พักผ่อนในฤดูร้อนของชาวอัลมาตี้
ส่วนการเดินทางมาที่นี่ช่วงฤดูหนาวก็ให้ภาพและความ ประทับใจไปอีกแบบหนึ่ง ทะเลสาบแห่งนี้
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 2,510 เมตรถูกแวดล้อมด้วย ยอดเขาอันใหญ่โตถึงสามยอด
ประเทศคาซัคสถานเป็นประเทศเกิดใหม่เพียง
20 ปีมานี้ เมื่อได้รับเอกราช
จึงต้องค้นหาเอกลักษณ์ของชาติ ขึ้นมา โดยการฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิม ภาษา
ดนตรี ศิลปะ รากเหง้าของความเป็นคาซัคที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งสหภาพโซเวียตหรือประเทศรัสเซียในปัจจุบันอีกต่อไป แต่สามารถยืนได้ในสังคมโลกอย่างภาคภูมิใจ
แหล่งข้อมูล
ประเทศคาซัคสถาน.(ออนไลน์) .เข้าถึงได้จาก .http://www.oknation.net/blog/jakkrit4/2009/09/15/entry-1 .
สืบค้นวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น